ว่ายกรรเชียง แบบยกแขนขึ้นพร้อมกัน

(Back stroke)

การว่ายน้ำแบบนี้บางทีเรียกว่า Inverted Breast Stroke ถ้าผู้เรียน สามารถว่ายน้ำในแบบ Breast stroke ได้แล้ว การฝึกหัด แบบ Back stroke นี้ก็เป็นของง่าย เพราะการเคลื่อนไหวและจังหวะของขาและแขน ปฎิบัติ เช่นเดียวกับ Breast stroke ผิดกันแต่ เปลี่ยนจากลักษณะคว่ำเป็นหงาย นอกจากนี้ ก็มีผิดแปลกกันบ้างเล็กน้อยเท่านั้น

การฝึกว่ายน้ำแบบกรรเชียง ยกแขนขึ้นพร้อมกัน

(Back stroke)

ทักษะเบื้องต้น

ก่อนที่ผู้เรียนจะลงมือฝึกหัด ด้วยการว่ายจริงในน้ำ ก็ควรจะได้ฝึกหัดลักษณะ และ ท่าทาง ต่าง ๆ บนบก เสียก่อน

ก. การฝึกหัดเคลื่อนไหวแบบ Breast stroke บนบก

ประกอบด้วยจังหวะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ท่าเตรียม : นอนหงาย เท้าเหยียดตรงชิดกัน ปลายเท้างุ้ม แขนทั้งสองข้างแนบอยู่ข้างลำตัว

จังหวะที่ 1 : ยกแขนทั้งสองขึ้นตรงไปทางเบื้องหน้าเลยไปทางศีรษะ มือทั้งสองชิดกัน อยู่เหนือศีรษะ แขนตึง

จังหวะที่ 2 : แขนทั้งสองเหยียดตึงอยู่เหนือศีรษะ ตะแคงฝ่ามือออกไปข้าง ๆ หลังมือชิดกัน

จังหวะที่ 3 : กดแขนทั้งสองเพื่อพายน้ำ รวบเข้าหาลำตัวอย่างเร็ว จนแขนทั้งสองแนบอยู่ข้างลำตัว เข้าสู่ท่าเตรียม

เมื่อผู้เรียนได้ฝึกหัด จังหวะการเคลื่อนไหวของแขน จนเกิดความชำนาญดีแล้ว ขั้นต่อไป ก็สามารถลงฝึก ในน้ำได้

ข. การฝึกหัดการเคลื่อนไหวของแขน แบบ Back stroke ในการทำจังหวะต่างๆ

เช่น การกระทำบนบก ในการฝึกหัดแขนในน้ำนี้ ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ทุ่นผูกไว้ที่เอว เพื่อช่วยในการลอยตัว ถ้าบางคนมีความลอยตัวในน้ำ อาจผูกไว้ที่อกอีกทุ่นหนึ่ง ในการฝึกหัดแขน ขั้นต้นนี้ ผุ้เรียนจำเป็น จะต้อง มีผู้ช่วยเหลือ โดยการจับขาทั้งสองยึดไว้

การว่ายน้ำแบบ Back Stroke นี้ จังหวะพัก คือ จังหวะที่เหยียดแขนทั้งสองไปเหนือศีรษะ หมายถึง จังหวะที่ 2 และเพื่อช่วยในการลอยตัวให้ดีขึ้น ผู้ว่ายควรจะยกอกไว้เล็กน้อย เวลายกแขนข้ามไปตาม จังหวะที่ 1 ให้ผู้เรียนเงยหน้าไว้เล็กน้อย จังหวะที่ 3 ให้ผู้เรียนก้มหน้าเล็กน้อย เพื่อมิให้น้ำท่วมปาก

ค. การฝึกหัดการเคลื่อนไหวของขา จังหวะต่าง ๆ ของการฝึกหัด

การเคลื่อนไหวของขา คงใช้เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวในแบบ Breast stroke ทุกประการ ผิดกันแต่เพียง เวลางอเท้าเข้ามา

ตามจังหวะที่ 1 นั้น เข่าไม่แยกออกจากกันมากนัก พยายามให้ลำตัว และขาส่วนบน ขนานกับผิวน้ำให้มากที่สุด ขาส่วนล่างนั้นงอลงไปทางก้นสระ ฝ่าเท้าทั้งสองอยู่ใกล้กัน แต่อย่าให้ชิดกัน

ตามจังหวะที่ 2 ของแบบ Breast stroke ให้ผู้เรียนหมุนข้อเท้าไปทางนิ้วก้อยของเท้า ให้ปลายเท้าชี้ออก ไปทางข้าง และหันฝ่าเท้าตรงออกไป

ตามจังหวะที่ 3 ของแบบ Breast stroke ให้เหวี่ยงขาท่อนล่างลงมาข้างหลัง แล้วเหวี่ยงออกไป บีบขาทั้งสองให้ชิดกัน ปลายเท้างุ้ม เพื่อช่วยบีบน้ำให้ได้มาก ๆ (ไม่ใช่ถีบ)

การฝึกขานี้ ถ้าฝึกบนบก จะไม่ได้รับความสะดวกนัก ผู้เรียนควรฝึกหัดในน้ำได้เลย โดยใช้ทุ่นผูกไว้ที่ท้อง หรือที่อก แขนกางออกเล็กน้อย ฝ่ามือคว่ำเพื่อช่วยในการทรงตัว

ภาพแสดงขั้นต่างๆ ของการว่ายน้ำ ท่ากรรเชียง ยกแขนขึ้นพร้อมกัน หรือ Back stroke

ง. การฝึกทั้งขาและแขน พร้อมๆ กัน

ควรปฎิบัตตามลำดับดังนี้

1. ลอยน้ำอยู่ในท่าตรงเท้าชิดกัน

2. งอเข้าทั้งสองข้างพร้อมับเริ่มงอแขน

3. แขนหงายขึ้น แยกเข่าแบะออก

4. เหวี่ยงเท้า บีบน้ำ รวบขา พร้อมกับยกแขนขึ้นไปเหนือน้ำ เลยไปทางศีรษะ พร้อมกับหายใจเข้า เมื่อรวบขาเสร็จแล้ว

5. ใช้แขนทั้งสองพายน้ำรวมเข้าหาลำตัว แล้วหายใจออก (ดูภาพประกอบ)